วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN



สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชาเวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "
ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[5]หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้นเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558


วัตถุประสงค์

จาก
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้

1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด

2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ

3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ

4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ

5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง

6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ


ประชาคมเศรษฐกิจ

กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

เขตการค้าเสรี

รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจาก
เขตการค้าเสรีอาเซียน] ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)

เขตการลงทุนร่วม

เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
สร้างความโปร่งใส
ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม

การแลกเปลี่ยนบริการ

ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว

ตลาดการบินเดียว

แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี
พ.ศ. 2558โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด

ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน

อาเซียนได้เปิด
การค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน


ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามใน
ข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ a

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง 54

พรรคการเมืองที่ลงสมัคร     
          หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
          หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
          หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่
          หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย
          หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย
          หมายเลข 6 พรรคพลังชล
          หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม
          หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย
          หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน
          หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์
          หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง
          หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ
          หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข
          หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม
          หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย
          หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย
          หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน
          หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน
          หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
          หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่
          หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา
          หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม
          หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี
          หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง
          หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย
          หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ
          หมายเลข 27 พรรคเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
          หมายเลข 28พรรคพลังสังคมไทย
          หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย
          หมายเลข 30 พรรคมหาชน
          หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย
          หมายเลขประจำพรรคการเมือง
เบอร์หมายเลข พรรคการเมือง เลือกตั้ง 2554
1เพื่อไทยพรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่พรรคประชาธิปไตยใหม่
4ประชากรไทยพรรคประชากรไทย
5รักประเทศไทยพรรครักประเทศไทย
6พลังชลพรรคพลังชล
7ประชาธรรมพรรคประชาธรรม
8ดำรงไทยพรรคดำรงไทย
9พลังมวลชนพรรค พลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียงพรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติพรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขพรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมพรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทพรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทยพรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดินพรรคแทนคุณแผ่นดิน
18เพื่อฟ้าดินพรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนาพรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยมพรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคีพรรคชาติสามัคคี
24บำรุงเมืองพรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทยพรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิพรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่าพรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยพรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทยพรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชนรรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยพรรคประชาชนชาวไทย

พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งปี 2554


หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
             ** นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1

         


หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์  ชาญนุกูล  

                                                                                              
หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์  


หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช  


หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 11 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์    


หมายเลข 6 พรรคพลังชล  จำนวนผู้สมัคร 18 คน
             หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์  


หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม  จำนวนผู้สมัคร 25 คน
             หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ   


 หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
             หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู    


หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
             หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ   

 

หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  


หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
             หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร    


หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ  จำนวนผู้สมัคร 64 คน
             หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์  


หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา  


หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร  


หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย  จำนวนผู้สมัคร 10 คน
             หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา    


หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  


หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 32 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร    


หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
             หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ    


หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 30 คน
             หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง  


หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่  จำนวนผู้สมัคร 24 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์  โกศัยสุข  


หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา  


หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
             หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม     


 หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี  จำนวนผู้สมัคร 9 คน
             หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช  


หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง  จำนวนผู้สมัคร 14 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย  


หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
             หัวหน้าพรรค : นายจำลอง  ดำสิม  


หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 40 คน
             หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน  

หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ  


หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์  


หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์  


หมายเลข 30 พรรคมหาชน  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
             หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน    

 

หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค  


หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
             หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร  

หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ  จำนวนผู้สมัคร 34 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายดลสวัสด์ ชาติเมธี  


หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม  


หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
             หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร  


หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา  จำนวนผู้สมัคร 103 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย  

หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสวัสดิ์ พบวันดี  


หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์  

หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย  จำนวนผู้สมัคร 23 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ